NEWS & EVENTS

เจาะกลยุทธ์การพัฒนาแบรนด์เพื่อความยั่งยืน จาก 4 ผู้เชี่ยวชาญหลากสาขา ในงาน Brand Series 2023 : ONE WORLD เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

            ปีนี้ยังคงได้รับเกียรติผู้เชี่ยวชาญที่ขับเคลื่อนวงการอสังหาริมทรัพย์ในภาคส่วนต่างๆ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง มาให้ความรู้กันอย่างเต็มที่ ส่วนใครมาพูดหัวข้ออะไรกันบ้าง มีสรุปเนื้อหาเน้นๆ มาให้แล้ว

เปิดประเด็นในหัวข้อกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืนจาก พฤกษ์ ชีวะวรนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ โอกิลวี่ ประเทศไทย ที่มาแชร์ความรู้ว่า การสร้างธุรกิจทุกวันนี้ไม่ได้โฟกัสอยู่แค่การเติบโตเท่านั้น แต่ต้องคำนึกถึงเรื่องความยั่งยืน โดยแบรนด์ต้องตีโจทย์ BANI WORLD (B = Brittle – ความเปราะบาง, A = Anxious – ความวิตกกังวล, N = Nonlinear – ความไม่เป็นเส้นตรง, I = Incomprehensible – ความกำกวม เข้าใจไม่ได้) ที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคให้แตก

จากการสำรวจใน 28 ประเทศ ของ KANTAR ที่ปรึกษาด้านการตลาดระดับโลก พบว่า ผู้คนจะกังวลกับตัวเองก่อนและถัดมาจะกังวลผลกระทบที่มีต่อโลก และเมื่อหันกลับมาเมืองในไทย พบว่าไม่ว่าคนเจนฯ ไหน ทุกเจนให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเพิ่มขึ้น ในจำนวนนี้มีถึง 37% ที่ไม่เพียงให้ความสำคัญและยังเกิดการลงมืออย่างสม่ำเสมอ ตัวเลขนี้สะท้อนกลับมาสู่คนทำแบรนด์อสังหาว่าในเชิงการสื่อสารต้องทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวกับผู้บริโภคมากขึ้น ให้รู้สึกว่าเข้าถึงได้

“เราเชื่อว่าบทบาทของแบรนด์และภาคธุรกิจ มีผลค่อนข้างมากในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับโลกสังคม และชุมชน แบรนด์ต้องเริ่มให้ความสำคัญกับการสร้างอิมแพ็ค โดยให้ความสำคัญกับ People Planet Performance”

ในเชิงกลยุทธ์และการสื่อสารกับผู้บริโภคไทย การสร้าง Sustainability Branding Impact ประกอบด้วย 4D Framework หลัก ได้แก่

  • Discover : เมื่อมีการสื่อสารเกี่ยวกับความยั่งยืน ผู้บริโภคไทยต้องการอะไรที่รู้สึกว่าง่าย (Simplicity) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ (Synergy) และบ่อยครั้งมักจะตั้งคำถามว่าเขาเป็นเพียงคนตัวเล็กๆ จะสร้างผลกระทบยิ่งใหญ่ให้กับสังคมได้อย่างไร (Scalabilit) ฉะนั้นเมื่อกลับมามองในมุมแบรนด์ ต้องสร้างความรู้สึกว่าง่าย เกิดการมีส่วนร่วม และให้ผู้บริโภครู้ว่าเขาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
  • Distill : แบรนด์ต้องตกผลึกให้ได้ว่าแบรนด์ของเรามีจุดเด่นที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงในแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของเราได้อย่างไร
  • Defind : มีการกำหนดพื้นที่หรือเป้าหมายของแบรนด้ให้ชัดเจนว่าแบรนด์จะมุ่งไปในทิศทางไหน เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์
  • Deliver : กระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ

ถัดมาเป็นมุมมองด้านการออกแบบและการดีไซน์ โดย คุณยศพล บุญสม กรรมการบริหาร บริษัท ฉมา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบพื้นที่สาธารณะ เผยว่า ในอดีตผู้คนคาดหวังเรื่องดีไซน์และฟังก์ชั่นจากงานออกแบบ มาถึงปัจจุบันต้องการสร้างอรรถประโยชน์ในเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย ทุกวันนี้ผู้คนให้ความสำคัญในเรื่องกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์

นักออกแบบและนักสถาปัตย์กำลังเจอโจทย์ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ในงานออกแบบไม่เพียงต้องคำนึกถึง 3 คีย์เวิร์ดสำคัญนี้เท่านั้น Human Centric / Nature Centric / Technology Enhancement แต่ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการด้วย เพราะปัจจุบันผู้ประกอบและผู้บริโภคต้องการการมีส่วนร่วมในงานออกแบบ ต้องการประเมินผลลัพธ์ของงานออกแบบนั้นๆ ว่ามีผลต่อชีวิตของพวกเขาและโลกอย่างไร อย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่ดึงผู้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจะมีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้พื้นที่นั้นเกิดความยั่งยืน และงานออกแบบไม่ได้คาดหวังแค่สร้างผลกระทบ แต่ต้องสร้างผลกระทบเชิงบวกในชุมชนและเพื่อนบ้านด้วย ซึ่งนี่กลายเป็นตัวชี้วัดใหม่ของงานออกแบบ

“หรือเราลองมองใกล้ๆ ตัวก็ได้ อย่างเวลาเดินไปในย่านเพลินจิต ซึ่งเป็นย่าน CBD ที่เจริญที่สุดในกรุงเทพ แต่เรายังไม่สามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย ยังมีที่รกร้าง ถามว่าความสุขและคุณภาพชีวิตของเราอยู่ที่ตรงไหน ทั้งที่มีทรัพยากรมากมายที่จะพัฒนาตรงนี้ได้ ความยั่งยืนไม่ได้ต้องการอะไรมาก แต่มันคือคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคน”

            ท้ายสุดแล้วจึงเกิดคำถามตามมาว่า ความยั่งยืนมีอีกหลายมิติที่ต้องทำ แต่ภาครัฐผลักภาระมาให้ภาคเอกชนมากเกินไปหรือเปล่า? เพราะในเมืองที่พัฒนาแล้ว ยังต้องมีมาตรการเชิงนโยบายอีกมากมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม

รศ.ดร. อภิชาต ประดิษฐสมานนท์ ชี้ให้เห็นว่า โลกของเรากำลังสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา 2 ใน 3 ของพรรณพืชในโลกได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ถือว่าโลกกำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤตกัน สิ่งที่มนุษย์ต้องทำคือต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อไปสู่การสร้าง Nature Positive Carbon Negative

ปรากฏการณ์เข้าสู่ขั้นวิกฤตนี้ พิสูจน์ได้อย่างไร ดูได้จากความพยายามของข้อกำหนดการประชุมชาติภาคีสมาชิก UNFCCC (กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) หรือ United Nations Framework Convention on Climate Change ที่มีเป้าหมายเพื่อวางแผนควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ปี 1850-1900 คือก่อนการแพร่หลายของเชื้อเพลิงฟอสซิล) โดยมีเป้าหมายหลักคือมุ่งไปที่การควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสให้ได้

ผลกระทบที่ตามมาเถ้าโลกมีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 1.5 องศา โลกจะมีเดือนที่แห้งแล้ง 2 เดือนใน 1 ปี และถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น +2 องศา โลกจะมีเดือนที่แห้งแล้งมากกว่า 4 เดือนต่อปี และถ้าอุณหภูมิสูงกว่า +3 องศา โลกจะมีเดือนที่แห้งแล้งมากกว่า 10 เดือนต่อปี นั้นหมายถึงสิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถอยู่อาศัยได้

ปิดท้ายกันที่มุมมองของตลาดอสังหาฯ ต่างชาติ ผ่านการวิเคราะห์ของ Mr.Simon Lee, Angel Real Estate Consultancy ซึ่งเผยว่า ตลาดอสังหาฯ ในกรุงเทพสำหรับกลุ่มชาวต่างชาติจะยังไม่กลับมาฟื้นตัวเท่าไรนัก ต่างจากภูเก็ตที่จะกลับมาคึกคักเร็วกว่า เพราะได้ปัจจัยหนุนจากกลุ่มนักลงทุนชาวรัสเซีย, จีน และอินเดีย ตามลำดับ โดยกลุ่มชาวต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ 1.เพื่ออยู่อาศัยและปล่อยเช่าไปพร้อมๆ ถึง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีเกินกว่า 50% 2.ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง โดยเป็นกลุ่มครอบครัวขนาดกลาง ที่มีพ่อแม่พาลูกมาศึกษาต่อในโรงเรียนอินเตอร์เนชั่นแนลในไทย 3.ซื้อเพื่อการท่องเที่ยวและเกษียณอายุ

ทั้งนี้อสังหาริมทรัพย์ที่ชาวต่างชาติกำลังมองหา คือ ต้องการโครงการที่มีฟังก์ชั่นหรือบริการที่มาช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันของเขา อาทิ Co-Living Management ที่จะสามารถแนะนำลูกบ้านชาวต่างชาติได้ว่าสามารถไปช้อปปิ้งได้ที่ไหน หรือเซอร์วิสที่เสมือนเป็นผู้ช่วยแนะนำบริการต่างๆ ที่พวกเขามองหาได้ในเมืองไทย เป็นต้น

ส่วนเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ด์อสังหาฯ ไทย อาจไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของชาวต่างชาติมากนัก เนื่องจากชาวต่างชาติยังไม่ค่อยรู้จักแบรนด์อสังหาไทยมากนัก แต่จะตัดสินใจซื้อจากการบอกต่อกันปากต่อปากในหมู่ชาวต่างชาติและกลุ่มคนใกล้ชิดด้วยกัน ซึ่งเป็นรูปแบบการตลาดที่มีผลต่อชาวต่างชาติมากๆ

“ที่ผ่านมาเรามีการทดสอบบริการใหม่ๆ กับกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติที่มาเลือกซื้ออสังหาฯ ในไทย พบว่า เมื่อเพิ่มบริการด้านการดูแลสุขภาพเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของส่วนกลางของโครงการ แม้ว่าจะมีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีเป็นจำนวนมาก และมีการขอเพิ่มอย่างต่อเนื่อง นี่แสดงให้เห็นว่าบริการรูปแบบนี้เป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการและให้ความสนใจ”

และนี่คือส่วนหนึ่งของเนื้อหา สาระความรู้ ที่จะมาช่วยจุดประกายความยั่งยืนในวงการอสังหาริมทรัพย์ เพราะเรื่องความยั่งยืนไม่ใช่งานของใคร คนใดคนหนึ่ง แต่ที่สิ่งที่เราทุกคนต้องร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกัน

อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com – https://www.terrabkk.com/articles/204977

Scroll to Top

Compare

Privacy Overview
ANGEL REAL ESTATE CONSULTANCY

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.

Strictly Necessary Cookies

Strictly Necessary Cookie should be enabled at all times so that we can save your preferences for cookie settings.

If you disable this cookie, we will not be able to save your preferences. This means that every time you visit this website you will need to enable or disable cookies again.

3rd Party Cookies

This website uses Google Analytics to collect anonymous information such as the number of visitors to the site, and the most popular pages.

Keeping this cookie enabled helps us to improve our website.

Additional Cookies

This website uses the following additional cookies:

(List the cookies that you are using on the website here.)